วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1

                                                          
ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

1. พระราชบัญญัติ หมายถึง  กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา พระราชบัญญัติถือเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองมาจากรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ โดยปกติพระราชบัญญัติจะมีลักษณะเป็นการนำเอาหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติตามมากำหนดไว้ เพื่อเป็นหลักหรือเป็นแนวทาง รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย และกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามด้วย สำหรับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นกระทำเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

2. กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือ
รัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

3. คดีอาญา หมายถึง การกระทำผิดที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

4. หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหน้าที่  

5. ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน

6. คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน


 7. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่มีกฏหมายให้ความคุ้มครอง โดยบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพจะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใดๆอันก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลไม่ได้

8. เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคล ซึ่งการกระทำนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายเสรีภาพ

9.ราชกิจจานุเบกษา คือ หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษาสำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทราชกิจจานุเบกษา

10.ฝากทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้

ที่มา : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Law amendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน (ออนไลน์) สืบค้นจาก   http://www.lawamendment.go.th/  [9 พฤศจิกายน 2555]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น